วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อากาศมหัศจรรย์



















สรุปความลับของแสง








ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ที่  28  พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 เวลาเรียน 13.00 เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)


ให้นักศึกษาออกแบบแผ่นพับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน
เราต้องให้ความรู้ผู้ปกครองซึ่งมีหลายวิธี 
องค์ประกอบในแผ่นพับ มี ชื่อโรงเรียน  โลโก้  หน่วยที่สอน  ข้างในมีเนื้อหาเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ปกครอง และมีจุดประสงค์ด้วย 

หน่วยไก่ (Chicken)

  

หน่วยกบ (frog)



หน่วยกะหล่ำปลี(Cabbage)




หน่วยกล้วย (Banana)


หน่วยส้ม (Orange)

หน่วยดอกมะลิ (Jasmine)



หน่วยแปรงฟัน(brush the teeth)




หน่วยผีเสื้อ(butterfly)





สิ่งทีนำไปพัฒนา  นำเทคนิคที่อาจารย์สอนไปปรับใช้ เช่นการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์ ควรทำให้มีความน่าสนใจ ให้ภายในแผ่นพับนั้นมีเนื้อหาที่เป็นความรู้ให้กับผู้ปกครองและมีกิจกรรมหรือบทเพลงที่ผ๔้ปกครองสามารถนำไปท่อง หรือทายเล่นกับลูกได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์  อาจารย์ใช้คำถามถามนักศึกษาเพื่อทดสอบความรู้เดิมหรือความคิดเห็นของนักศึกษา

ประเมินตนเอง      ตั้งใจเรียน และช่วยเพื่อนทำงาน ทำแผ่นพับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน บางครั้งถ้ามีข้อสงสัยก็จะไปถามอาจารย์ทันทีแล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามเนื้อหา ยังใช้ภาษาเขียนไม่ค่อยเป็นเรียบเรียงคำพูดไม่ค่อยได้ต้องขอคำปรึกษาอาจารย์เสมอ
ประเมินเพื่อน        เพื่อนแต่ละกลุ่มมตั้งใจทำแผ่นพับเมื่อมีข้อสงสัยก็ถามอาจารย์ แผ่นพับของเพื่อนแต่ละกลุ่มสวยงามมากค่ะ เพื่อนสนุกสนานในการทำแผ่นพับ
ประเมินอาจารย์    อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสารสัมพันธ์ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง และตั้งใจสอนนักศึกษาใส่ใจกับนักศึกษาทุกคน ห่วงนักศึกษาทุกคนเพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้มีความรู้ไปประกอบวิชาชีพได้

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 เวลาเรียน 13.00 เวลาเลิกเรียน 16.40น.


ความรู้ที่ได้รับวันนี้

อาจารย์ให้เพื่อนออกมาส่งสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ตั้งเกณฑ์แบ่งประเภทของเล่นต่างๆ


                                                                      มุมเสียง


                                     
มุมลม

มุมแรงโน้มถ่วง

มุมลม

บรรยากาศภายในห้อง


เพื่อนออกมานำเสนองานวิจัย

ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
ผู้วิจัย ศรีนวล  ศรีอ่ำ
วัตถุประสงค์---- เพื่อศึกษากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาล2 โดยการจัดปรสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์ คือ 
การสังเกต (โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5)
การจำแนกประเภท (มีเกณฑ์)
การวัด(หาค่า) การนับจำนวน
ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ (สเปชกับสเปช) เช่น น้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามภาชนะ
ทักษะการลงความเห็น
นางสาวอินทุอร 
 
การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2 
การสอน จะใช้แว่นขยายมองภาพ

นางสาวดวงกมล คันตะลี
ความสามารถในการคิดการจัดกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน
ใหเด็กได้สำรวจการวาดภาพที่ตนเองสำรวจ
ตัวแปรต้น    การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน
ตัวแปรตาม  การคิดวิเคราะห์(จำแนกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)

นางสาวววรวิภา โพธิ์งาม
ชื่อวิจัย การทำน้ำดื่มสมุนไพร
รูปแบบการจัดกิจกรรม 
-กิจกรรมการร้องเพลง คำคล้องจอง
ครูและเด็กร่วมกันทำน้ำฝรั่ง

พิชากร  แก้วน้อย (โทรทัศน์ครู)
กิจกรรมส่องนกในโรงเรียน
-นอกห้องเรียน
-ศึกษาเรียนรู้ชนิดนก
-สังเกตุเสียงของนก
ครูและเด็กร่วมกันทบทวนชนิดของนก

กัตติกา  สบานงา
ทักษะการสังเกต
ทักษะการจำแนก
ทักษะการสื่อสาร

นางสาวสิโรธร  ลอองเอก
ครูและเด็กร่วมกันทำไก่กระต๊าก

ทำวาฟเฟิล

                                      


                                       


                                          


สิ่งที่นำไปพัฒนา   การแยกประเภทของเล่นวิทยาศาตร์ควรจัดเป็นหมวดหมู่ และการทำขนมถ้าเราใส่ปริมาณน้ำมากจนเกิดไปจะทำให้ขนทออกมาไม่สวยงามและใส่ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน่อยจนเกินไป
เทคนิคการสอนของอาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำเองได้ทำขนมเอง สังเกต 
ประเมินตนเอง    ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์ให้คำแนะนำ สนุกมากค่ะกับการทำขนมตื่นเต้นมาก  แต่วันนี้พูดไม่เพราะต้องขอโทษอาจารย์ด้วยค่ะ
ประเมินเพื่อน      เพื่อนออกไปนำเสนองานวิจัยและบทความ และสนุกกับทำขนมเพื่อนบางคนไม่ทำตามสิ่งที่อาจารย์บอกจึงทำให้การทำขนมช้า
ประเมินอาจารย์  อาจารย์บอกขั้นตอนวิธีการทำขนม และการให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนไม่ควรเล่นโทรศัพท์ 




วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่13


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 เวลาเรียน 13.00 เวลาเลิกเรียน 16.40น.



ความรู้ที่ได้รับวันนี้

เพลงสวัสดี
สวัสดีคุณครูที่รัก                     หนูจะตั้งใจอ่านเขียน  
ยามเช้าเรามาโรงเรียน(ซ้ำ)     หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพื่อนออกมาสอนเรื่องแปรงสีฟัน
ชนิดของปรงสีฟัน(วันที่1)
คำคล้องจอง
แปรงสีฟันมีหลายชนิด    แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น         รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี        สะอาดดีเพราะเราแปรงฟัน



**เวลาที่ครูสอนเด็กให้เด็กไพูดตามคุณครูด้วยนะคะ
**เวลาสอนภาพที่นำมาให้เด็กดูต้องมีขนาดใหญ่
**เวลาติดภาพควรติดจากซ้ายไปขวา เพราะเราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา




**ให้เด็กออกมาหยิบรูปแปรงฟันเด็กทารกแล้วเปรียบเทียบกลุ่มแปรงเด้กทารกกับแปรงฟันที่ไม่ใช่เด็กทารก








                                               








*** ถามเด็กว่าแปรงสีฟันเด็กกับแปรงสีเด็กกับแปรงสีฟันผู้ใหญ่อันไหนมีมากกว่ากันถ้าเด็กตอบว่าเเปรงสีฟันผู้ใหญ่มีมากกว่าคือ ตามกฎการอนุรักษ์ เด็กจะมองจากสิ่งที่ตาเห็นยังไม่เข้าใจเหตุ-ผล
**ครูจับคู่แปรงสีฟันเด็กกับแปรงสีฟันผู้ใหญ่แบบ 1: 1 จนครบเหลือแปรงสีฟันเด็ก 1 แสดงว่าแปรงสีฟันเด็กมากว่าแปรงสีฟันผู้ใหญ่อยู่ 1
เรื่องผีเสื้อ  butterfly (ลักษณะ)


วิธีการ
1.ดูรูป
2.ถามเด็กๆว่าผีเสื้อชื่ออะไร
3.สังเกตลักษณะะสี  ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ
4.บันทึกลงในตาราง
5.หาความสัมพันธ์ เหมือน ต่าง 
6.ทบทวน เรื่องลักษณะของผีเสื้อ
เรื่องกล้วย

กล้วยคือผลไม้  ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้างลิงกินกล้วย  กินกล้วยมีวิตามิน








  

         =   5


1.แยกกล้วยหอมและไม่ใช่กล้วยหอม
2.เด็กหยิบออกมาเพื่อพิสูจน์โดยการหยิบ 1: 1
3.เหลือกล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอมกี่อัน
4.อันไหนหมดก่อน กล้วยหอมหมดก่อนกล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอมเหลือ 1 แสดงว่ากล้อยหอมน้อยกว่ากล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอม
ทำทาโกะยากิ ไข่



อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ Cooking ต้องจัดโต๊ะให้เป็นหมวดหมู่

แผนกที่1 หั่นผัก แครอท ต้นหอม  ปูอัด

แผนกที่ 2 เครื่องปรุง



แผนกที่ 3 


อร่อยค่ะ ทำง่ายด้วย


นำเสนองานวิจัย
นางสาวอริศา ยุนุห์ 
เรื่อง ผลต่อการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย2540
ใช้การสังเกต--ความสามารถในการรับรู้ประสามสัมผัสทั้ง5
นางสาวทิพย์มณี   สมศรี เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน คลิกเพิ่มเติม
การดำเนินการ--หน่วยเดียวกันต่างกันที่จัดกิจกรรม
ครูใช้คำถาม
ด้านคุณลักษณะ--สี รูปร่าง รูปทรง
ด้านปริมาณ---การปริมาณสถานที่หนึ่งกับสถานที่หนึ่ง
การเปลี่ยนแปลง
ผลการวิเคราะห์   จัดประสบการณ์นอกห้องเรียนมีผลในการส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ประเมินตนเอง    ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์ให้คำแนะนำกลุ่มเพื่อนที่ออกมานำเสนอแผน ชอบตอนทำ Cooking มากค่ะและตอนนำเสนองานวิจัยมีข้อบกพร่องแต่อาจารย์ก้ให้โอกาสไปหามาเพิ่มเติมแล้วอธิบายให้เพื่อนในห้องฟังเพื่อจะได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน     เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำบางส่วน และสนุกสนานในการทำ Cooking มาก และตั้งใจตอบคำถามและฟังเพื่อนเสนองานวิจัย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอน และให้คำแนะนำอย่างละเอียดมากใช้คำถามถามนักศึกษาว่าเข้าใจและสามาถอธิบายถูกต้องหรือไม่ เพราะอยากให้นักศึกาษาเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสอนจริงๆเมื่อไปฝึกสอนจะได้สอนได้ถูกต้อง