บันทึกอนุทินครั้งที่6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557
เวลารียน 13.10-16.40 น
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำโดยมีขั้นตอนดังนี้
การทำกิจกรรมนี้ อาจารย์กำหนดว่า
คนที่นั่งแถวที่ 1ตัดกระดาษที่ตัดกึ่งกลางตัดลงมาจนถึงส่วนที่พับครึ่งไว้ แถวที่1 จะมีปีกยาว
คนที่นั่งแถวที่ 1ตัดกระดาษที่ตัดกึ่งกลางตัดลงมาจนถึงส่วนที่พับครึ่งไว้ แถวที่1 จะมีปีกยาว
ส่วนแถวที่ 2 ให้ตัดกระดาษลงให้สั้นกว่าแถวที่1
ปีกกระดาษจะสั้นกว่า
ส่วนแถวที่ 3-4
ก็จะตัดปีกกระดาษสั้นกว่าแถวที่ 2
แล้วออกมาทำให้เพื่อนดูหน้าห้อง แถวที่
1 พอโยนขึ้นแถวพอมันตกลงมากระดาษจะหมุนๆลงมาคล้ายกับลูกยาง
แถวที่ 2 พอโยนขึ้นจะหมุนเล็กน้อย
แถวที่3-4 พอโยนขึ้นไป
กระดาษที่ประดิษฐ์ไม่หมุน
จากกิจกรรมจึงทำให้เกิดคำถามว่า
-ทำไมแถวที่ ที่ 3-4
ไม่หมุนเหมือนกับแถวที่1
-ลักษณะการหมุนของกระดาษแถวที่1
2 3 4 ทำไมไม่เหมือนกัน
-ทำให้เด็กรู้จักการสังเกต
จากให้กิจรกรมทำรู้ว่า
-ของทุกสิ่งทุกอย่างที่ตกลงมาเกิดจากแรงดึงดูดของโลก
-กระดาษที่ตัดเป็นปีกจากกิจกรรมที่ทำ
กับกระดาษปกติ ถ้าโยนขึ้นไป กระดาษปกติจะตกลงมาเร็ว ส่วนกระดาษที่มีปีกจะตกลงมาช้าเพราะมีอากาศมาหนุนรองปีกเปรียบเหมือนกับเครื่องบิน
การหมุนของกระดาษเปรียบเหมือนกับลูกยาง
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ส่ง Mind map หน่วยอะไรที่จะนำไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย ซึ่งเพื่อนๆตกแต่งสวยงามมากค่ะ
อาจารย์ให้คำแนะแนะกี่ยวกับการเขียนMind map เวลาขียนต้องเขียนวนขวา และ เรียบเรียงหัวข้อสำคัญก่อนและให้เพิ่มข้อมูลข้อแก้ไขให้แต่ละกลุ่มนำไปแก้ไข
กดข้าไปดูเลย นิทาน การดินทางของลูกยาง
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ส่ง Mind map หน่วยอะไรที่จะนำไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย ซึ่งเพื่อนๆตกแต่งสวยงามมากค่ะ
อาจารย์ให้คำแนะแนะกี่ยวกับการเขียนMind map เวลาขียนต้องเขียนวนขวา และ เรียบเรียงหัวข้อสำคัญก่อนและให้เพิ่มข้อมูลข้อแก้ไขให้แต่ละกลุ่มนำไปแก้ไข
กลุ่มของดิฉันคือกลุ่มไก่ ได้นำไปแก้ไขปรับปรุงตาที่อาจารย์ให้คำแนะนำมา
สิ่งที่นำไปพัฒนา
ในการทำกิจกรรมที่เราสอนเด็ก
เราอย่าพึ่งบอกเด็กให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ได้รู้จักการสังเกต
คำถามกระตุ้นเด็กให้เด็กได้ตอบคำถาม เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจของเด็กไปด้วย
ถ้าเด็กสงสัยครูก็อธิบายให้เด็กฟัง หรือทดสอบให้เด็กการเปรียบเทียบ ด้วยตนเอง
และเด็กจะเกิดความสนใจในกิจกรรมที่กระทำอยู่เพราะเด็กเกิดความสงสัย
อยากรู้อยากเห็น โดยครูจะคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตั้งคำถามให้เด็ก
เทคนิคการสอน อาจารย์ให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง
รู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ ตอนที่ทำกิจกรรมอาจารย์ยังไม่บอกว่าจะทำอะไร
บอกแค่วิธีการทำแล้วให้นักศึกษาออกมาทำให้เพื่อนดูหน้าห้องสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสงสัย
เกิดคำถาม จนเกิดการเรียนรู้แล้วอาจารย์ก็จะบอกรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้ง
ประเมินตนเอง
สนุกกับกิจกรรมวันนี้มากค่ะ
มีประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆเด็กก็สามารถทำได้
ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนและออกไปทำให้เพื่อนดูหน้าห้อง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรมในการประดิษฐ์ของเล่นและตั้งใจเรียนสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
เพื่อนบางคนนั่งไม่เรียบร้อย และเสียงดังบางครั้ง
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมวัสดุ อุปกรณ์
ให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องและให้ความรู้ให้คำแนะนำกับสิ่งที่สอนและแนะนำในการเขียน
Mind map และให้นำไปแก้ไขอาจารย์บอกรายละเอียดสิ่งเล็กๆที่อยู่ใกล้ตัว
ยกตัวอย่างได้เข้าใจ สามารถนึกภาพออกเลย และอาจารย์สอนสนุกประทับใจมากค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น