วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทินครั้งที่6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์จินตนา     สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 26  กันยายน 2557
เวลารียน 13.10-16.40 น


วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ให้ตัดกระดาษ



2.พับครึ่งและใช้กรรไกรตัดกึ่งกลางลงมาถึงส่วนครั่งที่เราพับไว้



3.พับจากข้างล่างขึ้นมาประมาณ ครึ่งนิ้ว แล้วก็ติดคลิปหนีบกระดาษ

4.โยนขึ้นแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น



การทำกิจกรรมนี้ อาจารย์กำหนดว่า 
คนที่นั่งแถวที่ 1ตัดกระดาษที่ตัดกึ่งกลางตัดลงมาจนถึงส่วนที่พับครึ่งไว้ แถวที่1 จะมีปีกยาว
ส่วนแถวที่ 2  ให้ตัดกระดาษลงให้สั้นกว่าแถวที่1 ปีกกระดาษจะสั้นกว่า
ส่วนแถวที่ 3-4 ก็จะตัดปีกกระดาษสั้นกว่าแถวที่ 2
แล้วออกมาทำให้เพื่อนดูหน้าห้อง แถวที่ 1 พอโยนขึ้นแถวพอมันตกลงมากระดาษจะหมุนๆลงมาคล้ายกับลูกยาง
แถวที่ 2 พอโยนขึ้นจะหมุนเล็กน้อย
แถวที่3-4 พอโยนขึ้นไป กระดาษที่ประดิษฐ์ไม่หมุน
จากกิจกรรมจึงทำให้เกิดคำถามว่า
-ทำไมแถวที่ ที่ 3-4 ไม่หมุนเหมือนกับแถวที่1
-ลักษณะการหมุนของกระดาษแถวที่1 2 3 4 ทำไมไม่เหมือนกัน
-ทำให้เด็กรู้จักการสังเกต
จากให้กิจรกรมทำรู้ว่า
-ของทุกสิ่งทุกอย่างที่ตกลงมาเกิดจากแรงดึงดูดของโลก
-กระดาษที่ตัดเป็นปีกจากกิจกรรมที่ทำ กับกระดาษปกติ ถ้าโยนขึ้นไป กระดาษปกติจะตกลงมาเร็ว ส่วนกระดาษที่มีปีกจะตกลงมาช้าเพราะมีอากาศมาหนุนรองปีกเปรียบเหมือนกับเครื่องบิน การหมุนของกระดาษเปรียบเหมือนกับลูกยาง




    กดข้าไปดูเลย นิทาน การดินทางของลูกยาง


อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ส่ง Mind map  หน่วยอะไรที่จะนำไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย ซึ่งเพื่อนๆตกแต่งสวยงามมากค่ะ 



อาจารย์ให้คำแนะแนะกี่ยวกับการเขียนMind map เวลาขียนต้องเขียนวนขวา และ เรียบเรียงหัวข้อสำคัญก่อนและให้เพิ่มข้อมูลข้อแก้ไขให้แต่ละกลุ่มนำไปแก้ไข















กลุ่มของดิฉันคือกลุ่มไก่ ได้นำไปแก้ไขปรับปรุงตาที่อาจารย์ให้คำแนะนำมา









สิ่งที่นำไปพัฒนา
ในการทำกิจกรรมที่เราสอนเด็ก เราอย่าพึ่งบอกเด็กให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ ได้รู้จักการสังเกต คำถามกระตุ้นเด็กให้เด็กได้ตอบคำถาม เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจของเด็กไปด้วย ถ้าเด็กสงสัยครูก็อธิบายให้เด็กฟัง หรือทดสอบให้เด็กการเปรียบเทียบ ด้วยตนเอง และเด็กจะเกิดความสนใจในกิจกรรมที่กระทำอยู่เพราะเด็กเกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็น โดยครูจะคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกและตั้งคำถามให้เด็ก
เทคนิคการสอน  อาจารย์ให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักการสังเกต การเปรียบเทียบ ตอนที่ทำกิจกรรมอาจารย์ยังไม่บอกว่าจะทำอะไร บอกแค่วิธีการทำแล้วให้นักศึกษาออกมาทำให้เพื่อนดูหน้าห้องสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความสงสัย เกิดคำถาม จนเกิดการเรียนรู้แล้วอาจารย์ก็จะบอกรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้ง

การประเมิน

ประเมินตนเอง
สนุกกับกิจกรรมวันนี้มากค่ะ มีประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆเด็กก็สามารถทำได้ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนและออกไปทำให้เพื่อนดูหน้าห้อง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรมในการประดิษฐ์ของเล่นและตั้งใจเรียนสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน เพื่อนบางคนนั่งไม่เรียบร้อย และเสียงดังบางครั้ง
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องและให้ความรู้ให้คำแนะนำกับสิ่งที่สอนและแนะนำในการเขียน Mind map  และให้นำไปแก้ไขอาจารย์บอกรายละเอียดสิ่งเล็กๆที่อยู่ใกล้ตัว ยกตัวอย่างได้เข้าใจ สามารถนึกภาพออกเลย  และอาจารย์สอนสนุกประทับใจมากค่ะ






วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557
เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 เวลาเรียน 13.00 เวลาเลิกเรียน 16.40


 วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้อง โดยมีอุปกรณ์มาให้ คือกระดาษ ไม้เสียบลูกชิ้น. กาว สีเมจิก  เท็ปกาว
กิจกรรมวาดภาพสัมพันธ์กัน
 สิ่งที่ดิฉัน วาดในวันนี้คือภาพ. ใบบัวกับ. กบ

ขั้นตอนวธีการทำ

1 พับกระดาษA4  ให้เป็น 4ส่วนแล้วตัด


2 )ให้วาดภาพที่มีความสัมพันธ์กัน วาดทั้ง ซ้าย และ ขวา


3)เมื่อวาดเสร็จให้นำไม้เสียบลูกชิ้นติดกับกระดาษ


4) แล้วก็ติดกาวให้กระดาษทับกัน


5)แล้วก็หมุนๆเร็วๆ ภาพที่เกิดขึ้นจะมองเห็นภาพที่ทับกัน




สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้








สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
ทำให้กิจกรรมสังเกตได้ว่าบางคนเสร็จก่อนบางคนเสร็จช้า แสดงว่าคนที่ทำเสร็จก่อนเคยผ่านกระบวนการวิธีการทำมาก่อนหรือมีความรู้เดิมมาก่อนจึงทำให้ทำกิจกรรมเสร็จก่อน

การนำไปใช้
-จากกิจกรรมที่ประดิษฐ์ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถนำกิจกรรมนี้ไปสอนเด็กปฐมวัยได้
-เมื่อประดิษฐ์เสร็จเมื่อเด็กได้เล่น เด็กได้รู้จักการสังเกต รู้จักวิธีการตั้งคำถาม ทำให้เด็กได้ฝึกคิด

เทคนิคการสอน
อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมในห้องเรียน พร้อมอธิบายว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร สามารถไปสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างไร

การประเมิน
การประเมินตนเอง. วันนี้ง่วงนอนแต่อาตารย์มีกิจกรรมในห้องเรียนทำให้ไม่ง่วงนอนสนุกสนานในการทำกิจกรรมในห้องเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์และตอบคำถามและฟังเพื่อนออกมาเสนอบทความหน้าห้อง
การประเมินเพื่อน.  เพื่อนแต่ละคนสนุกสนานในการทำกิจกรรมในห้องเรียน และตั้งใจฟังอาจารย์สอนบางครั้งและบางคนก็นอนในห้องเรียนบ้าง
การประเมินอาจารย์ อาจารย์ตั้งใจสอนและตั้งคำถามถามนักศึกษา และมีการเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กทำในห้องเรียน




วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

อนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ

วันศุกร์ที่  12 กันยายน  พ.ศ.2557
ครั้งที่4 เวลาเรียน 13.10-16.40น.
เวลาเข้าสอน 13.00  เวลาเข้าเรียน 13.00 เวลาเลิกเรียน 16.40



สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้ 

เรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา    รู้ความสำคัญของวิทยาศาสตร์และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมประสบการณ์และตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็กได้อย่างเหมาะสม

เทคนิคการสอน  อาจารย์ใช้คำถามในการถามเด็ก 

การประเมิน

การประเมินตนเอง  - ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตอบคำถามอาจารย์และไม่ค่อยสนใจในท้ายชั่วโมง

การประเมินเพื่อน  -เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตอบคำถาม

การประเมินอาจารย์- อาจารย์ตั้งใจสอนนักศึกษาและอธิบายเนื้อหาวิทยาศาตร์พร้อมยกตัวอย่างให้ฟังได้อย่างเข้าใจ








อนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 5 กันยายน 2557
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.15 เวลาเลิกเรียน 16.00 น.




ความรู้ที่ได้รับวันนี้







กิจกรรมในชั้นเรียน





สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
         -ได้รู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กว่ามีความสำคัญกับเด็กฉะนั้นบทบาทของครูควรเข้าใจในตัวเด็กเมื่อเด็กถามครูครูควรสนใจในสิ่งที่เด็กถามและจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย

เทคนิคการสอน

การประเมิน

ประเมินตนเอง -ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนและฟังคำแนะนำเกี่ยวกับการหา                                           บทความที่ดี 
ประเมินเพื่อน   -เพื่อนตั้งใจนำเสนอหน้าชั้นเรียนและฟังอาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เริ่มเสียดังในท้ายชั่วโมง
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์สอนโดยยกตัวอย่างและตั้งคำถามให้นักศึกษาได้ตอบคำถามเป็นการเช็คความรู้นักศึกษาไปด้วย และสอนนักศึกษาอย่างตั้งใจ สนใจเด็กทุกคน





บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
วันที่ 29 สิงหาคม  2557


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์

กิจกรรมวันนี้สนุกมากค่ะ












ประโยชน์ของการรับน้อง
      ทำให้เกิดความสามัคคีกัน การทำงานเป็นทีม มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง เพื่อน  รุ่นน้อง และรุ่นพี่  ทำให้เกิดความสนุกสนาน  ฝึกความอดทน  เมื่อมีปัญหาอะไรเราสามารถให้คำปรึกษากันให้ความช่วยเหลือกันรู้การทำความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างพี่กับน้อง 






วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันศุกร์ ที่ 22 สิงหาคม พใศ 2557
ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.15 เวลาเลิกเรียน 16.00 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  วันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดแนวการสอนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ วิทยาศาตร์คืออะไรแบบคร่าวๆ อธิบายความหมาย  ความสำคัญ  และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา และทักษะทางวิทยาศาสตร์
ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 6 ด้าน
1.ด้านคุณธรรม  
2 ด้านความรู้  
3. ด้านทักษะทางปัญญา
4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ประโยชน์สารสนเทศ
6.ด้านจักการเรียนรู้

และอาจารย์ก็บอกรายละเอียนวิธีการทำบล็อกโดยในการสร้างบล็อกควรใช้ ภาษาอังกฤษ บ้างและควรมีหน่วยงานที่สนับสนุน สิ่งที่น่าสนใจ หรือสิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม เพลง เกมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใส่ในบล็อกเพื่อให้บล็อกมีความน่าสนใจมากขึ้น

สิ่งที่นำไปพัฒนา

นำสิ่งที่อาจารย์บอกหรือรายละเอียดวิธีการทำบล็อกไปใช้หรือไปสร้างบล็อกให้องค์ประกอบในบล็อกจะได้มีความน่าสนใจมากขึ้นตามที่อาจารย์แนะนำมา

การประเมิน
การประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์ในการชี้แจ้งรายละเอียดวิชาและวิธีสร้างบล็อกให้มีความน่าสนใจ
การประเมินเพื่อน
 - เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม และ บางครั้งก็พูดคุยกันบางในห้องเรียน
การประเมินอาจารย์
- อาจารย์ชี้แจ้งรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ได้เข้าใจ และอธิบายองค์ประกอบที่ควรจะมีในบล็อก บันทึกอนุทินทุกครั้งหลังการสอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น